ก เอ๋ย ก.ไก่

สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

นวัตกรรมทางการบริหาร
นวัตกรรมทางการบริหาร: หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา

ความนำ
          ในการปฏิบัติการใด ๆ  ก็ตาม เมื่อยังมิได้มีการค้นคว้า ทดลอง วิจัย ที่มีการกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเกิดความมั่นใจได้ว่า เมื่อกระทำอย่างนี้ แล้วจะบังเกิดผลเป็นอย่างนั้น ในเบื้องแรก มนุษย์ก็มักจะตั้งข้อสันนิษฐาน (Assumption) เอาไว้ก่อน แล้วจึงไปหาข้อพิสูจน์ (Proof) มายืนยันว่า สิ่งที่ได้ตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้นั้น ถูกต้องหรือผิด หากถูกต้อง และเมื่อมีการกระทำซ้ำ ๆ ในลักษณะเดียวกันนั้น ไม่ว่าจะกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผลที่ได้รับก็จะออกมาในรูปเดียวกันหมด เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ทำการค้นคว้าทดลองก็สามารถตั้งสิ่งที่ตนศึกษาค้นพบใหม่นั้นขึ้นมาเป็นทฤษฎี (Theory) ใหม่ได้
การเจริญปัญญา ตามแนวพุทธธรรม
          มนุษย์เป็นผู้มีปัญญา ก่อนที่จะเชื่ออะไร จะต้องมีเหตุมีผล จะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนเสมอ พระเทพเวที (ประยุทธ์  ปยุตโต) ปัจจบันคือพระธรรมปิฎก ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์จะต้องสร้างทัศนคติที่มีเหตุผล ไม่ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพียงเพราะฟังตาม ๆ กันมา ยินดีรับฟังคำสอนทุกฝ่าย ทุกด้าน ด้วยใจเป็นกลาง ไม่ด่วนตัดสินสิ่งที่ยังไม่รู้เห็นว่าเป็นเท็จ ไม่ยืนกรานยึดติดแต่สิ่งที่จนรู้หรือคิดเห็นเท่านั้นว่าถูกต้องเป็นจริง เมื่อรับฟังทฤษฎี คำสอน ความคิดเห็นของผู้อื่นแล้ว พิจารณาเท่านที่เห็นด้วยปัญญาตนว่า เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และเห็นว่าผู้แสดงทฤษฎี คำสอนหรือความเห็นนั้น ๆ เป็นผู้มีความจริงใจ ไม่ลำเอียง มีปัญญา จึงเลื่อมใสรับเอามาเพื่อคิดหาเหตุผลทดสอบความจริงต่อไป แล้วนำสิ่งที่ใจรับมานั้น มาขบคิดทดสอบด้วยเหตุผล จนแน่ใจแก่ตนว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แล้วนำสิ่งที่ใจรับนั้น มาบคิดทดสอบด้วยเหตุผล จนแน่ใจแก่ตนว่า เป็นสิ่งถูกต้องแท้จริงอย่างแน่นอน จนซาบซึ้งด้วยความมั่นใจในเหตุผลเท่าที่ตนเองมองเห็นแล้ว พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติพิสูจน์ทดลองให้รู้เห็นความจริงประจักษ์ต่อไป และถ้ามีความเคลือบแคลงสงสัย ก็รีบสอบถามด้วยใจบริสุทธิ์ มิใช่ด้วยอหังการมมังการ พิสูจน์เหตุผลให้ชัดเจน เพื่อให้ศรัทธานั้นมั่งคงแน่นแฟ้น เกิดประโยชน์สมบูรณ์  (พระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโร.2532:650)
          หมายเหตุ กาลามสูตรนั้น เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พวกกาลามะในแคว้นโกศล ประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาล มีความดังนี้
          กาลามชนทั้งหลาย จงอย่ายึดถือโดยการฟังตาม ๆ กันมา อย่ายึดถือโดยการถือสืบ ๆ กันมา อย่ายึดถือโดยการเล่าลือ อย่ายึดถือโดยการอ้างตำรา อย่ายึดถือโดยตรรก อย่ายึดถือโดยการอนุมาน อย่ายึดถือ โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่ายึดถือเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน อย่ายึดถือเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ และอย่ายึดถือเพราะนับถือว่า สมณะนี้คือครูของเรา (พระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโร.2532:651)
ทฤษฎี : ความหมาย
          ปทานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้ความหมายของคำทฤษฎีไว้ว่า ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ และในปทานุกรมเว็บมาสเตอร์ ก็กล่าวถึง Theory ไว้ว่า A formulation of apparent relationships or underlying principles of certain observed phenomena which has been verified to some degree.หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ชัดเจน ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น หรือหลักการที่กำหนดขึ้นมาจากการที่ได้สังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในระดับหนึ่ง และ Branch of an art or science consisting in a knowledge of its principles and methods rather than in is practiceหมายถึง ศิลป์หรือศาสตร์สาขาหนึ่งที่ประกอบไปด้วยความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหลักการและวิธีการมากกว่าที่จะกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติการ
ทฤษฎี : การบริหารการศึกษา
          มีผู้ให้คำนิยามไว้ว่า ทฤษฎี หมายถึง ชุดของแนวคิด (Concepts) คติฐานหรือข้อสันนิษฐษน (Assumption) และข้อยุติโดยทั่วไป (Generalization) ที่อธิบายพฤติกรรมขององค์การ อย่างเป็นระบบ และมีความสัมพันธ์ต่อกัน
          แต่สำหรับข้อสมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง การตั้งข้อกำหนด หรือข้อสมมติที่คิดหรือคาดว่าน่าจะเป็นขึ้นมา แล้วพยายามศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาข้อสรุปมาพิสูจน์ให้จงได้ว่า ข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้น จริงหรือไม่จริง
พัฒนการของทฤษฎีในการบริหารการศึกษา
          ความเกี่ยวข้องของทฤษฎีที่เข้ามาสัมพันธ์กับการบริหารการศึกษานั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านสังคมศาสตร์ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด,เอลตัน มาโย และเอฟ เจ รอธลิสเบอร์เกอร์ได้เปิดทัศนะใหม่แห่งการศึกษาการบริหาร แต่สงครามได้ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์สังคมหันเหไปจากการทดลองในห้องปฏิบัติการไประยะหนึ่ง ในระยะนั้น นักจิตวิทยา นักสังคมวิทยา และนักมานุษยวิทยาก็ต้องเข้าจัดการกับปัญหาด้านต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา เมื่อสงครามสิ้นสุด นักค้นคว้าเหล่านี้ก็หันมาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
          ในปี 1947 มีการประชุมแห่งชาติของศาสตราจารย์แห่งการบริหารการศึกษา (National Conference of  Professors of Educational Administration NCPEA)  ซึ่งการประชุมในครั้งนั้น ที่ประชุมได้ตระหนึกถึงการพัฒนาทางด้านสังคมศาสตร์ และในปี 1950 มีโครงการร่วมมือระหว่างกันในการบริหารการศึกษา (Cooperative Program in Eductational Administration CPEA) เพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการบริหารการศึกษาแต่การปฏิบัติงานในครั้งกระนั้นก็มิได้ค้นพบอะไรที่เกี่ยวกับทฤษฏีการบริหารมากนักต่อมา บรรดาสมาชิก NCPEA เสนอแนะให้ที่ประชุมสนัสนุนการเขียนหนังสือที่รายงานผลการวิจัยสิ่งที่ค้นพบเกี่ยวข้องต่อไป

รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)
                    นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ได้นำวิธีการสอนแบบ Inquiry มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ Evaluate
                    สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงต้องการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) ซึ่งมีขอบข่ายรายละเอียด ดังนี้
                    1. การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจะจะจัด กิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัย ใครรู้ อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นำเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ
                    2. การสำรวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา และรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ
                    3. การอธิบาย (Explain) นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหามาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนุบสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้เหตุผลสมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้ มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน
                    4. การขยายความรู้ (Evaborate)
                        4.1 ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซื้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม
                        4.2 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นำไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่
                    5. การประเมิน (Evaluate)
                        5.1 นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต
                        5.2 นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ เช่น วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษาทบทวนใหม่อีกครั้ง อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับสมมติฐาน เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
                        5.3 นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลอง
                    มาถึงตอนนี้เราก็ทราบทั้งเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry เป็นที่เรียบร้อยแล้วคราวนี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญที่จะเป็นกระจกสะท้อนให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไทย
...............................................
นวัตกรรมทางการบริหาร
นวัตกรรมทางการบริหาร: หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา

ความนำ
          ในการปฏิบัติการใด ๆ  ก็ตาม เมื่อยังมิได้มีการค้นคว้า ทดลอง วิจัย ที่มีการกระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเกิดความมั่นใจได้ว่า เมื่อกระทำอย่างนี้ แล้วจะบังเกิดผลเป็นอย่างนั้น ในเบื้องแรก มนุษย์ก็มักจะตั้งข้อสันนิษฐาน (Assumption) เอาไว้ก่อน แล้วจึงไปหาข้อพิสูจน์ (Proof) มายืนยันว่า สิ่งที่ได้ตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้นั้น ถูกต้องหรือผิด หากถูกต้อง และเมื่อมีการกระทำซ้ำ ๆ ในลักษณะเดียวกันนั้น ไม่ว่าจะกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผลที่ได้รับก็จะออกมาในรูปเดียวกันหมด เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ทำการค้นคว้าทดลองก็สามารถตั้งสิ่งที่ตนศึกษาค้นพบใหม่นั้นขึ้นมาเป็นทฤษฎี (Theory) ใหม่ได้
การเจริญปัญญา ตามแนวพุทธธรรม
          มนุษย์เป็นผู้มีปัญญา ก่อนที่จะเชื่ออะไร จะต้องมีเหตุมีผล จะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนเสมอ พระเทพเวที (ประยุทธ์  ปยุตโต) ปัจจบันคือพระธรรมปิฎก ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์จะต้องสร้างทัศนคติที่มีเหตุผล ไม่ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพียงเพราะฟังตาม ๆ กันมา ยินดีรับฟังคำสอนทุกฝ่าย ทุกด้าน ด้วยใจเป็นกลาง ไม่ด่วนตัดสินสิ่งที่ยังไม่รู้เห็นว่าเป็นเท็จ ไม่ยืนกรานยึดติดแต่สิ่งที่จนรู้หรือคิดเห็นเท่านั้นว่าถูกต้องเป็นจริง เมื่อรับฟังทฤษฎี คำสอน ความคิดเห็นของผู้อื่นแล้ว พิจารณาเท่านที่เห็นด้วยปัญญาตนว่า เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และเห็นว่าผู้แสดงทฤษฎี คำสอนหรือความเห็นนั้น ๆ เป็นผู้มีความจริงใจ ไม่ลำเอียง มีปัญญา จึงเลื่อมใสรับเอามาเพื่อคิดหาเหตุผลทดสอบความจริงต่อไป แล้วนำสิ่งที่ใจรับมานั้น มาขบคิดทดสอบด้วยเหตุผล จนแน่ใจแก่ตนว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แล้วนำสิ่งที่ใจรับนั้น มาบคิดทดสอบด้วยเหตุผล จนแน่ใจแก่ตนว่า เป็นสิ่งถูกต้องแท้จริงอย่างแน่นอน จนซาบซึ้งด้วยความมั่นใจในเหตุผลเท่าที่ตนเองมองเห็นแล้ว พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติพิสูจน์ทดลองให้รู้เห็นความจริงประจักษ์ต่อไป และถ้ามีความเคลือบแคลงสงสัย ก็รีบสอบถามด้วยใจบริสุทธิ์ มิใช่ด้วยอหังการมมังการ พิสูจน์เหตุผลให้ชัดเจน เพื่อให้ศรัทธานั้นมั่งคงแน่นแฟ้น เกิดประโยชน์สมบูรณ์  (พระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโร.2532:650)
          หมายเหตุ กาลามสูตรนั้น เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พวกกาลามะในแคว้นโกศล ประเทศอินเดียในสมัยพุทธกาล มีความดังนี้
          กาลามชนทั้งหลาย จงอย่ายึดถือโดยการฟังตาม ๆ กันมา อย่ายึดถือโดยการถือสืบ ๆ กันมา อย่ายึดถือโดยการเล่าลือ อย่ายึดถือโดยการอ้างตำรา อย่ายึดถือโดยตรรก อย่ายึดถือโดยการอนุมาน อย่ายึดถือ โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่ายึดถือเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน อย่ายึดถือเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ และอย่ายึดถือเพราะนับถือว่า สมณะนี้คือครูของเรา (พระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโร.2532:651)
ทฤษฎี : ความหมาย
          ปทานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้ความหมายของคำทฤษฎีไว้ว่า ความเห็น การเห็น การเห็นด้วยใจ ลักษณะที่คิดคาดเอาตามหลักวิชา เพื่อเสริมเหตุผลและรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ และในปทานุกรมเว็บมาสเตอร์ ก็กล่าวถึง Theory ไว้ว่า A formulation of apparent relationships or underlying principles of certain observed phenomena which has been verified to some degree.หมายถึง ความสัมพันธ์ที่ชัดเจน ปรากฏเป็นรูปร่างขึ้น หรือหลักการที่กำหนดขึ้นมาจากการที่ได้สังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในระดับหนึ่ง และ Branch of an art or science consisting in a knowledge of its principles and methods rather than in is practiceหมายถึง ศิลป์หรือศาสตร์สาขาหนึ่งที่ประกอบไปด้วยความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหลักการและวิธีการมากกว่าที่จะกล่าวถึงวิธีการปฏิบัติการ
ทฤษฎี : การบริหารการศึกษา
          มีผู้ให้คำนิยามไว้ว่า ทฤษฎี หมายถึง ชุดของแนวคิด (Concepts) คติฐานหรือข้อสันนิษฐษน (Assumption) และข้อยุติโดยทั่วไป (Generalization) ที่อธิบายพฤติกรรมขององค์การ อย่างเป็นระบบ และมีความสัมพันธ์ต่อกัน
          แต่สำหรับข้อสมมติฐาน (Hypothesis) หมายถึง การตั้งข้อกำหนด หรือข้อสมมติที่คิดหรือคาดว่าน่าจะเป็นขึ้นมา แล้วพยายามศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาข้อสรุปมาพิสูจน์ให้จงได้ว่า ข้อสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้น จริงหรือไม่จริง
พัฒนการของทฤษฎีในการบริหารการศึกษา
          ความเกี่ยวข้องของทฤษฎีที่เข้ามาสัมพันธ์กับการบริหารการศึกษานั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในด้านสังคมศาสตร์ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชสเตอร์ ไอ บาร์นาร์ด,เอลตัน มาโย และเอฟ เจ รอธลิสเบอร์เกอร์ได้เปิดทัศนะใหม่แห่งการศึกษาการบริหาร แต่สงครามได้ผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์สังคมหันเหไปจากการทดลองในห้องปฏิบัติการไประยะหนึ่ง ในระยะนั้น นักจิตวิทยา นักสังคมวิทยา และนักมานุษยวิทยาก็ต้องเข้าจัดการกับปัญหาด้านต่างๆ ที่รุมเร้าเข้ามา เมื่อสงครามสิ้นสุด นักค้นคว้าเหล่านี้ก็หันมาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง
          ในปี 1947 มีการประชุมแห่งชาติของศาสตราจารย์แห่งการบริหารการศึกษา (National Conference of  Professors of Educational Administration NCPEA)  ซึ่งการประชุมในครั้งนั้น ที่ประชุมได้ตระหนึกถึงการพัฒนาทางด้านสังคมศาสตร์ และในปี 1950 มีโครงการร่วมมือระหว่างกันในการบริหารการศึกษา (Cooperative Program in Eductational Administration CPEA) เพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการบริหารการศึกษาแต่การปฏิบัติงานในครั้งกระนั้นก็มิได้ค้นพบอะไรที่เกี่ยวกับทฤษฏีการบริหารมากนักต่อมา บรรดาสมาชิก NCPEA เสนอแนะให้ที่ประชุมสนัสนุนการเขียนหนังสือที่รายงานผลการวิจัยสิ่งที่ค้นพบเกี่ยวข้องต่อไป

รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycles (5Es)
                    นักการศึกษากลุ่ม BSCS (Biological Science Curriculum Study) ได้นำวิธีการสอนแบบ Inquiry มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเสนอขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็น 5 ขั้นตอน เรียกว่า การเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle หรือ 5Es ได้แก่ Engage Explore Explain Elaborate และ Evaluate
                    สาขาชีววิทยา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงต้องการศึกษารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนากระบวนการคิดระดับสูง วิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จึงพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในแต่ละขั้นตอนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry Cycle (5Es) ซึ่งมีขอบข่ายรายละเอียด ดังนี้
                    1. การสร้างความสนใจ (Engage) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัยหรือความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนมารู้มาแล้วเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจะจะจัด กิจกรรมหรือสถานการณ์เพื่อกระตุ้น ยั่วยุ หรือท้าทายให้นักเรียนตื่นเต้น สงสัย ใครรู้ อยากรู้อยากเห็น หรือขัดแย้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้า หรือการทดลอง แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือปัญหาที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะศึกษา ทำได้หลายแบบ เช่น สาธิต ทดลอง นำเสนอข้อมูล เล่าเรื่อง/เหตุการณ์ ให้ค้นคว้า/อ่านเรื่อง อภิปราย/พูดคุย สนทนา ใช้เกม ใช้สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สร้างสถานการณ์/ปัญหาที่น่าสนใจ ที่น่าสงสัยแปลกใจ
                    2. การสำรวจและค้นคว้า (Explore) นักเรียนดำเนินการสำรวจ ทดลอง ค้นหา และรวบรวมข้อมูล วางแผนกำหนดการสำรวจตรวจสอบ หรือออกแบบการทดลอง ลงมือปฏิบัติ เช่น สังเกต วัด ทดลอง รวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ
                    3. การอธิบาย (Explain) นักเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและค้นหามาวิเคราะห์ แปลผล สรุปและอภิปราย พร้อมทั้งนำเสนอผลงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปวาด ตาราง แผนผัง ผลงานมีความหลากหลาย สนุบสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กำหนดไว้ โดยมีการอ้างอิงความรู้ประกอบการให้เหตุผลสมเหตุสมผล การลงข้อสรุปถูกต้องเชื่อถือได้ มีเอกสารอ้างอิงและหลักฐานชัดเจน
                    4. การขยายความรู้ (Evaborate)
                        4.1 ครูจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ลึกซื้งขึ้น หรือขยายกรอบความคิดกว้างขึ้นหรือเชื่อมโยงความรู้เดิมสู่ความรู้ใหม่หรือนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง เพิ่มขึ้น เช่น ตั้งประเด็นเพื่อให้นักเรียน ชี้แจงหรือร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซักถามให้นักเรียนชัดเจนหรือกระจ่างในความรู้ที่ได้หรือเชื่อมโยงความรู้ที่ได้กับความรู้เดิม
                        4.2 นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เช่น อธิบายและขยายความรู้เพิ่มเติมมีความละเอียดมากขึ้น ยกสถานการณ์ ตัวอย่าง อธิบายเชื่อมโยงความรู้ที่ได้เป็นระบบและลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือสมบูรณ์ละเอียดขึ้น นำไปสู่ความรู้ใหม่หรือความรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในเรื่องอื่นหรือสถานการณ์อื่นๆ หรือสร้างคำถามใหม่และออกแบบการสำรวจ ค้นหา และรวบรวมเพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่
                    5. การประเมิน (Evaluate)
                        5.1 นักเรียนระบุสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการและผลผลิต
                        5.2 นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ที่ได้ เช่น วิเคราะห์วิจารณ์แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน คิดพิจารณาให้รอบคอบทั้งกระบวนการและผลงาน อภิปราย ประเมินปรับปรุง เพิ่มเติมและสรุป ถ้ายังมีปัญหา ให้ศึกษาทบทวนใหม่อีกครั้ง อ้างอิงทฤษฎีหรือหลักการและเกณฑ์ เปรียบเทียบผลกับสมมติฐาน เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
                        5.3 นักเรียนทราบจุดเด่น จุดด้อยในการศึกษาค้นคว้า หรือทดลอง
                    มาถึงตอนนี้เราก็ทราบทั้งเรื่องเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Inquiry เป็นที่เรียบร้อยแล้วคราวนี้ก็มาถึงเรื่องสำคัญที่จะเป็นกระจกสะท้อนให้เกิดการพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กไทย
แหล่งอ้างอิง http://portal.in.th/inno-banyat/pages/1/


e-Book

การทำหนังสือ E-book
     ความหมาย Electronic Book (E-Book) หรือ"หนังสืออิเล็กทรอนิกส์"
ซึ่งจัดทําขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์
เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือ โดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือ
ที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์
ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ ตามที่เราต้องการเหมือนการเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไป
เพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สามารถ
แสดงข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ เราสามารถอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล และสอบถามข้อมูลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก ได้จากอินเตอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่อง เดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นแฟ้มข้อมูล ประเภทข้อความ (Text File) ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักของภาษา HTML (Hyper Text Mask Language) ที่ใช้เขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์สําหรับการเขียนข้อมูลให้ออกมา
เป็น E-Book และ ซอฟต์แวร์สํ าหรับการอ่าน
วิวัฒนาการของ Electronic Book
                 ความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีมาภายหลังปี ค.ศ. 1940 ซึ่งปรากฏในนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง หนึ่ง เป็นหลักการใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อน 1990 ในช่วงแรกมี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิงและการศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับการอ้างอิง
มักจะเกี่ยวกับเรื่องการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการพร้อมๆ กันกับการผลิตที่ ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics ด้วยข้อจํ ากัดทางเทคโนโลยีที่ห่างไกลความจริง เช่น มีปัญหาของจอภาพซึ่งมี ขนาดเล็กอ่านยาก แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น ไม่มีการป้องกันข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ ต่อมาเทคโนโลยีแล็บท็อปคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้ E-Book มีการรุดหน้าเร็วขึ้นจนสามารถ บรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบ เพราะได้นําบางส่วนของแล็บท็อปมาประยุกต์ใช้จน
ทำ ให้ E-Book มี คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ Internet ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องมี อุปกรณ์ที่จะใช้เก็บข้อมูล u3648 เช่น Diskette สามารถส่งข้อมูลได้คราวละมากๆ มีการป้องกันข้อมูล (Encryption) ใน การพัฒนา E-Book จะมุ่งไปที่ความบางเบาและสามารถพิมพ์ทุกอย่างได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้เหมือนกระดาษ จริงมากที่สุด

ลักษณะไฟล์ของ Electronic Book
HTML
เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดงานประเภทนี้จะมีนามสกุลของไฟล์หลายๆ แบบเช่น .htm หรือ .html เป็นต้น สาเหตุหลักที่ได้รับความนยมสูงสุดนั้นมาจากบราวเซอร์สํ าหรับเข้าชมเว็บต่างๆ เช่น Internet Explorer หรือ Netscape Communication ที่ใช้กันทั่วโลกสามารถอ่านไฟล์ HTML ได้ สํ าหรับไฟล์ XML ก็มีลักษณะเดียวกับไฟล์ HTML นั่นเอง

PDF Portable หรือ Document Format ถูกพัฒนาโดย Adobe System Inc เพื่อจัดการเอกสารให้อยู่ใน รูปแบบที่เหมือนเอกสารพร้อมพิมพ์ ไฟล์ประเภทนี้สามารถอ่านได้โดยระบบปฏิบัติการจํ านวนมากและรวมถึง อุปกรณ์ E-Book Reader ของ Adobe ด้วย

PML พัฒนาโดย Peanut Press เพื่อใช้สํ าหรับสร้าง E-Books โดยเฉพาะอุปกรณ์พกพาต่างๆ ที่ สนับสนุนไฟล์ประเภท PML นี้จะสนับสนุนไฟล์นามสกุล .PDF ด้วย (หมายเหตุ ข้อมูลจาก www.j-joy.co.th)
           เมื่อได้รู้จักกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บุ๊คกันแล้ว เราก็จะมาเริ่มทำหนังสือ e-book กัน สำหรับโปรแกรมที่เราจะใช้ในการ
ทำมีอยู่ด้วยกัน 2 โปรแกรม คือโปรแกรม Flippublisher v1.0 โปรแกรมนี้ใช้สำหรับทำหนังสือ e-book กับอีกโปรแกรมหนึ่ง
คือโปรแกรม Flipviewer โปรแกรมนี้ใช้สำหรับอ่านหนังสือ e-book แล้วจะหา 2 โปรแกรมนี้ได้จากที่ไหน ก็ไม่ต้องเป็นกังวล
เพราะได้จัดเตรียมไว้ให้ท่านแล้ว เอาไว้ครั้งหน้าเราจะลงมือกัน อดใจรอซักนิด.....
http://krumali.maeai.com/ebook/ebook_01.html

E-Book : รูปแบบใหม่ในการอ่านหนังสือ
 
 
E-book หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คำนี้อาจจะเป็นคำใหม่ในความรู้สึกของหลาย ๆ คน แต่ อีกไม่นานจะเป็นที่รู้จักในหมู่นักอ่านทั้งหลาย โดยเฉพาะในวงการห้องสมุดซึ่งในอนาคตจะมีการเปลี่ยน แปลงรูปแบบให้เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิตัลและห้องสมุดเสมือน เทคโนโลยีนี้ก็คง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาให้บริการกับผู้ใช้ ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับรูปแบบของ หนังสือก็ไม่จำเป็นว่าเราต้องโยนหนังสือทิ้งไปแล้วหันมาใช้เทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นแทนที่เพราะเราก็ไม่ ทราบว่าเมื่อไหร่เทคโนโลยีนี้จะเป็นที่นิยมและยอมรับอย่างแพร่หลาย และถึงแม้ว่าหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในวงการหนังสือ แต่หนังสือก็ยังมีคุณค่าต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน ดังมีคำยกย่องเกี่ยวกับหนังสือจาก Tony Cawkell ว่าหนังสือจะยังคงมีการจัดพิมพ์อีกหลาย ปี และมีความจริงว่าการได้พบหน้ากันระหว่างหนังสือกับผู้อ่านจะมีความสัมพันธ์กับมนุษย์มากกว่าการ ใช้เครื่องจักร ซึ่งจะมีคำที่เกี่ยวข้องกัน 2 คำ คือการถ่ายโอนข้อมูล และพฤติกรรมของมนุษย์ หากมอง โดยผ่านๆ จะพบว่าการอ่านหนังสือ การสแกนหัวข้อข่าว การประเมินคุณค่ารูปภาพหรือภาพวาด เป็น การหาความบันเทิงที่มีความสุขจากแผ่นกระดาษ และยังสามารถจะเขียนข้อความอื่น ๆ ลงไปได้อีก สามารถนำติดตัวได้ อ่านบนเครื่องบิน รถไฟ ในห้องน้ำก็ได้ และมองดูสวยเมื่ออยู่บนชั้น ให้เป็นของ ขวัญกับคนที่รักได้

ความหมาย
ได้มีผู้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ไว้หลายความหมาย ได้แก่
เป็นคำเฉพาะที่ใช้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นสิ่งพิมพ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดย เฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เช่น ซีดีรอม และซีดีไอ และเป็น ซอฟต์แวร์ (ในรูปของดิสก์ขนาด 8 ซม.)
เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายตัวอักษรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับหนังสือ อยู่ในรูปแบบดิจิตัล โดยแสดงให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์ เป็นหนังสือถูกนำมาจัดพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล ไม่บังคับการพิมพ์ และการเข้าเล่ม แผ่นซีดีรอมสามารถจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากในรูปแบบของตัวอักษร ทั้งลักษณะภาพ ดิจิตอล ภาพอนิเมชั่น วิดีโอ ภาพเลื่อนไหวต่อเนื่อง คำพูด เสียงดนตรี และเสียงอื่นๆ ที่ประกอบตัว อักษรเหล่านั้น มูลค่าของการจำลองลงบนแผ่นจานข้อมูลเสียง (Optical disc) เพียงแค่เป็นเศษส่วน ของการจัดพิมพ์และการห่อหนังสือในขณะที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์ในการอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ และขณะนี้มีราคาหลายระดับ ลักษณะของซอฟต์แวร์ที่เพิ่มเป็นแบบไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) สามารถแสดงผลของการค้นหาตัวอักษรได้ เชื่อมต่อกับไฮเปอร์เท็กซ์ มีคำแนะนำที่ สามารถอธิบายศัพท์เป็นระบบออนไลน์ และอาจมีหมายเหตุตรงขอบ เป็นต้น

 
 
 
 
 
 
วิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ได้มีการกล่าวถึงประวัติความเป็นมาหรือวิวัฒนาการของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่าความคิดใน เรื่องหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ปรากฏในนิยายทางวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ภายหลังปี ค.ศ. 1940 เป็นหลัก การใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์ คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อนปี 1990 ในช่วงแรก มี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิง และการ ศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับอ้างอิงมักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการ พร้อม ๆ กับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics , Novell และผู้ผลิตได้ผลิตคู่มือ Dynatext ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 12 ชื่อ ตามรูปแบบเทคโนโลยีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และในช่วงสิบปีมานี้ก็ได้เห็นความพยายามที่จะนำผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา จำหน่ายในโลกแห่งความจริง แต่ส่วนมากก็ล้มเหลว แต่ก็มีบ้างที่ยังพอยู่ในตลาด เช่น Book man หรือ Franklin Bookman ซี่งการใช้งานยังคงห่างไกลที่จะเข้ามาเชื่อมโยงในตลาดกระแสแมนสตีมได้ ปัญหา ของอุปกรณ์เหล่านี้ก็คือ จอภาพขนาดเล็กที่สามารถอ่านออกได้ยาก อายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ค่อนข้าง สั้น อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีในการแปลงรหัส (encryption) เพื่อป้องกันข้อมูลของผู้พิมพ์ในเรื่องของ ลิขสิทธิ์ของตัวอักษร อีกทั้งวิธีจัดจำหน่ายและแสดงผลต่างๆ กันก็ยังไม่สะดวกต่อผู้ใช้ อย่างเช่นการใช้ แผ่นซีดีรอมหรือตลับบรรจุแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
พัฒนาการอันหนึ่งที่ได้เขามามีส่วนช่วยให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เกิดการรุดหน้าเร็วขึ้นจน สามารถบรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบก็คือ แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ นั่นก็คือการนำบางส่วน ของแล็บท็อป เช่น สกรีน มาใช้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญก็คือ ในระยะเมื่อไม่กี่ปีมานี้ราคาของ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้ลดลงไปมาก จนทำให้การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีคุณภาพสูง นอก จากนี้การบูมของอินเตอร์เน็ตก็ได้เข้ามาทำให้มนุษย์สามารถส่งสิ่งที่เป็นเอกสารหรือหนังสือได้คราวละ มาก ๆ โดยอาศัยอินเทอร์เน็ตและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย และไม่ต้องมีดิสก์เก็ตหรือการ์ดสำหรับการใช้ ในการเก็บข้อมูล เช่น นวนิยาย หรือเอกสารตำรา ในกรณีที่มีผู้เกรงว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการ อาศัยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการรับส่งหนังสือ ตำรา หรือนวนิยายนั้น ก็สามารถป้องกัน ได้ด้วยการใช้รหัส (encryption) เพื่อไม่ให้บรรดาผู้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในการแจกจ่ายเนื้อหาในหนังสือนวนิยายหรือตำรา โดยไม่ต้องไปซื้อหามา อนึ่ง หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้อาศัยหลักการที่ว่าจะนำเทคโนโลยีที่มีความบางเบามากๆ มาใช้ เช่น สกรีน โดยจะละ ทิ้งทุกสิ่งในแล็บท็อปที่มีน้ำหนักมาก เช่น โปรเซสเซอร์แบบเฮฟวี่ดิวตี้ งานพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จึงได้มุ่งหนักไปในเรื่องของความบางเบาและการพิมพ์ทุกอย่างลงบนแผ่นพลาสติกหรือสิ่งอื่นใดที่จะนำ มาทำหน้าที่คล้ายกับกระดาษให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันหมายถึงการพิมพ์ตั้งแต่สิ่งที่เป็นวงจรทาง อิเล็กทรอนิกส์จนถึงสิ่งอื่นๆ เช่น หน่วยความจำสำรอง (ภายในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีซีพียู) ลงบน แผ่นบางๆ ที่จะทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อันเนื่องจากต้องการประหยัดน้ำ หนัก นอกจากนี้ลักษณะที่กล่าวมาของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังมีส่วนที่เรียกว่าเนื้อหาด้วยซึ่งเนื้อหา ในที่นี้ได้มีกล่าวไว้ว่า เนื้อหา (content) เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์บนเครือข่ายมีความสามารถ ในการส่งสัญญาณเสียง การแพร่กระจายของวัสดุ
 
 
 
 
 
 
ลักษณะและรูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หัวใจของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือ "แผ่นจานข้อมูลแสง" หรือ ซีดีรอม แผ่นดิสก์ดังกล่าวจะเก็บ ข้อมูลในรูปแบบเดียวกับแผ่นซีดีที่ใช้บันทึกเพลง คือแต่ละจุดที่บันทึกอยู่บนแผ่นดิสก์จะใช้แทนจำนวน ข้อมูล และจุดเหล่านี้สามารถอ่านค่าด้วยแสงเลเซอร์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดพกพาติดตัวได้เปิด โฉมเมื่อไม่นานนี้ด้วยสนนราคา 300 ปอนด์ ประกอบด้วยตัวเครื่องขนาดกระทัดรัดเหมาะมือ มีคีย์บอร์ด ขนาดเล็กเท่าหน้าปัดนาฬิกา จอมีขนาด 6 ตารางเซ็นติเมตร และมีช่องสำหรับใส่แผ่นดิสก์ 1 ช่อง ความสามารถที่เป็นจุดเด่นของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คือความสามารถในการใช้งานข้อมูลที่บรรจุอยู่ใน แผ่นดิสก์แบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ คือสามารถใช้งานในรูปของตัวอักษรและกราฟิก หรือที่เรียกว่าแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ แต่ก็มีจุดอ่อนในตัวเองเหมือนกัน เมื่อมีข้อมูลมากจึงทำให้มีขนาดใหญ่และหนักกว่า หนังสือที่เป็นกระดาษ และเปลืองไฟมาก ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และ ใช้พลังงานน้อย จอมีขนาดเล็กกว่าจอโทรทัศน์ทั่วไปจึงทำให้เกิดอาการเคืองตาและเหนื่อยเป็นอย่างมาก หากต้องอ่านนาน ๆ
แหล่งอ้างอิง  http://gotoknow.org/blog/teacherwhite/242903

นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

“วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ”



เทคโนโลยี

1. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

ความหมายของเทคโนโลยี

        คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

    *** พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"

นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ


Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์

*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

*** สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล

*** ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง

*** ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น

***** พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67) 


เราขอเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”


Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์

ความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์


Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์



คำจำกัดความของวิทยาศาสตร์ คืออะไร


Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์

          วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สะสมมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบันและต่อไปถึง อนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เริ่มแต่ธรรมชาติรอบ ๆ ตัว จากองค์ประกอบที่เล็กที่สุดไปจนถึงใหญ่ที่สุดในเอกภพ ในแง่ที่ว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติมีความเป็นมาอย่างไร สัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร ลำดับการพัฒนาเป็นอย่างไร มีระเบียบแบบแผนและหลัก เกณฑ์หรือไม่อย่างไร การเรียนวิทยาศาสตร์อาศัยรากฐานของการสังเกต การตั้งสมมติฐาน โดยใช้หลักปรัชญาและ ตรรก วิทยา พยายามสังเกตและวัดปริมาณเป็นตัวเลขออกมาเพื่อความแม่นยำ โดยอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์ ดังนั้นส่วนสำคัญของ การเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การเรียนเกี่ยวกับเทคนิคในการสังเกต และการทดลอง ผนวกกับการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์

ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี


Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์

คำจำกัดความของเทคโนโลยี คืออะไร

          ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม

สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าว

เมื่อมีวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแล้ว สิ่งที่จะขาดเสียมิได้คือการประดิษฐ์

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระบาทขอยกย่องและเทิดพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงของเรา

ผู้เป็นบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย


Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์

         เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2549 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” แด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปี  2549 เป็นปีที่ปวงชนชาวไทยได้แสดงออกอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศถวายความจง รักภักดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพลังเสื้อสีเหลือง เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลกพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็ยิ่งปรากฏชัดจากการน้อมเกล้าฯจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในงานสำคัญทาง ด้านวิทยาศาสตร์ตลอดทั้งปี ดังเช่นงาน “วันนักประดิษฐ์” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายนของทุกปีและงาน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2549  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-22 สิงหาคม 2549

         ในวาระมหามงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี วันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ  โดย นายโคฟี  อันนัน  เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) และนิตยสาร Time (Asia) ฉบับวันที่ 13 เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (ฉบับครบรอบ 60 ปี ของนิตยสาร Time (Asia) ประกาศยกย่ององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น 1 ใน 60 วีรบุรุษแห่งเอเชีย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
แหล่งอ้างอิง http://theenergy.biz/forum/index.php?topic=7.0

นวัตกรรมทางการเกษตร

นวัตกรรมทางเทคโนโลยี SIMS
SIMS (Sugarcane Information Management System) คือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มิตรผลวิจัยฯ ได้พัฒนาขึ้น โดยบูรณาการเทคโนโลยีสามด้านเข้าด้วยกัน อันได้แก่ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความละเอียดสูง เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยีการบอกตำแหน่งบนพื้นผิวโลก เพื่อเก็บฐานข้อมูลด้านไร่ของเกษตรกร อีกทั้งยังช่วยลดขั้นตอนการสำรวจแปลงของเจ้าหน้าที่โรงงานกับเกษตรกร และสามารถปรับปรุงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เวลานานให้ง่ายรวดเร็ว เป็นปัจจุบัน และมีความถูกต้องแม่นยำสูง
โดยระบบจะรวบรวมข้อมูลสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยรายบุคคลตั้งแต่เรื่องการใช้พันธุ์อ้อย คุณสมบัติดิน การใช้ปุ๋ย การจัดการน้ำ การเก็บเกี่ยว การขนส่ง รวมทั้งประสิทธิภาพการผลิตของโรงงาน ทั้งหมดนี้จะถูกประมวลเป็นฐานข้อมูลชาวไร่อ้อยที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ประเมินผลเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตให้ดียิ่งขึ้น เราเรียกวิธีนี้ว่า “Yield Gap Analysis” ด้วยศักยภาพของ SIMS สายงานด้านอ้อยจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความละเอียดซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายชื่อของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่จะถูกแบ่งกลุ่มตามขนาดพื้นที่ สภาพพื้นที่ วิธีการชลประทาน ช่วงเวลาการปลูก ฯลฯ ข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปประมวลผลเพื่อการเปรียบเทียบเป็นรายปัจจัย ตัวชี้วัดความสำเร็จของการวิเคราะห์นี้จะพิจารณาจากกำไรสุทธิสูงสุดที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับ ด้วยข้อมูลในเชิงลึก เจ้าหน้าที่ด้านไร่ของมิตรผลจะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยที่มีส่วนทำให้พื้นที่นั้นมีผลผลิตอ้อยดี และให้ค่าความหวานสูง อาทิ ระบบชลประทานแบบน้ำหยด ช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิตได้มากถึงอีก 5 ตันอ้อยต่อไร่เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว เป็นต้น โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 สายงานอ้อยของโรงงานมิตรภูเวียงได้ริเริ่มนำไร่อ้อยที่มีผลผลิตมากและได้คุณภาพสูงสุดมาขยายผลเป็นไร่อ้อยต้นแบบให้ชาวไร่อ้อยรายอื่นๆ ได้มีโอกาสมาศึกษาดูงานและสามารถนำไปปรับใช้กับพื้นที่ของตน
เครื่องมือการเกษตร
ด้วยความร่วมมือจากกรมวิชาการเกษตรผู้ค้นคิดเครื่องมือ “ผานสับใบอ้อย” มิตรผลได้ถือเป็นธุระสำคัญในการเผยแพร่วิธีการเตรียมดินแบบต้นทุนต่ำให้กับชาวไร่อ้อย เนื่องจากในช่วงแรกชาวไร่ยังขาดความรู้ที่ว่าใบอ้อยสามารถนำมาเป็นปุ๋ยธรรมชาติได้ มิตรผลจึงส่งเสริมการปลูกอ้อยแบบ “ไว้ใบคลุมดิน” กล่าวคือ ในช่วงการเก็บเกี่ยวอ้อยแปลงเดิม แทนที่ชาวไร่จะเผาใบทิ้งเพื่อเตรียมแปลงปลูกอ้อยชุดใหม่ ชาวไร่สามารถใช้ผานสับใบอ้อยให้ละเอียดก่อนการไถพรวน เพื่อกลบเศษซากใบซึ่งจะย่อยสลายในดิน และกลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติชั้นดีในไร่อ้อย โครงการดังกล่าวจึงถือเป็นนวัตกรรมการจัดการที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ในชุมชนชาวไร่ ทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยในแต่ละปีให้กับชาวไร่อ้อยจำนวนมาก
ในปี พ.ศ. 2551 มิตรผลวิจัยฯ ได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพให้กับชาวไร่อ้อยในการเก็บเกี่ยว จากข้อมูลที่บ่งชี้ว่าร้อยละ 60 ของคนตัดอ้อยเป็นเพศหญิง มิตรผลวิจัยฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดลในการพัฒนาด้ามมีดจากยางสังเคราะห์ที่ถนอมมือ ลดความเหนื่อยล้า ทนทานต่อเหงื่อ และมีอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มิตรผลวิจัยฯ ยังได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการพัฒนา “มีดภูเวียง” ซึ่งมีคุณสมบัติของเนื้อวัสดุที่ยืดหยุ่น ไม่ต้องลับคมบ่อย และมีอายุการใช้งานทนทานกว่ามีดทั่วไป จึงได้รับความสนใจจากชาวไร่อ้อย โดยในปี พ.ศ. 2551 มียอดการสั่งผลิตมีดภูเวียงประมาณ 50,000 เล่มจากทุกพื้นที่โรงงานของมิตรผล แต่เนื่องจากราคาเหล็กกล้าขึ้นสูงมากในช่วงปี ผู้ผลิตจึงไม่สามารถผลิตตามยอดการสั่งได้

การกำจัดศัตรูพืช

การส่งเสริมการกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติทดแทนการใช้สารเคมี นอกจากจะเป็นการช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยเกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการจัดการไร่อ้อยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น โครงการส่งเสริมการเพาะแตนเบียนเพื่อเข้าไปทำลายหนอนกอซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจในไร่อ้อย โครงการนี้เกิดขึ้นจากองค์ความรู้ที่ได้จากศูนย์ควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมิตรผลได้นำมาพัฒนาและศึกษาวิจัยวิธีเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมกับพื้นที่เพาะพันธุ์และแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่มาขอรับแตนเบียนโดยไม่คิดมูลค่า ในปีพ.ศ. 2551 ได้มีการปล่อยแตนเบียนในเขตส่งเสริมรอบโรงงานมิตรผลทั้ง 5 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 64,000 ไร่
การระบาดของด้วงหนวดยาวในไร่อ้อยซึ่งพบมากในเขตพื้นที่ดินทราย นับเป็นอีกปัญหาสำคัญที่มิตรผลมิได้นิ่งนอนใจ เนื่องจากการระบาดของด้วงหนวดยาวที่พบเพียงส่วนหนึ่งของตอนั้นส่งผลให้อ้อยเสียหายไปทั้งตอ จากองค์ความรู้ที่ว่า “ราเขียว” สามารถกำจัดด้วงหนวดยาวได้นั้น ทำให้มิตรผลทำการทดลองหาเชื้อและพัฒนาสายพันธุ์ราเขียวที่เหมาะสมกับพื้นที่ส่งเสริมการเพาะปลูกในการกำจัดด้วงหนวดยาว โดยเฉพาะการค้นพบวิธีเพาะพันธุ์ราเขียวที่ง่าย มีประสิทธิภาพและไม่เกินความสามารถของเกษตรกรชาวไร่อ้อย ดังนั้นภารกิจสำคัญของสายงานด้านอ้อยของมิตรผลนอกจากจะเป็นการประเมินสถานการณ์พื้นที่ระบาดแล้ว ยังต้องส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรรู้จักการเพาะราเขียวอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2551 เกษตรกรได้มีการใช้ราเขียวจากมิตรผลครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,300 ไร่ เพื่อกำจัดด้วงหนวดยาว
อีกนวัตกรรมทางการเกษตรที่โดดเด่นของมิตรผลวิจัยฯ ในการป้องกันการเกิดโรคใบขาวในพืชอ้อยคือ “ชุดตรวจโรคใบขาว” ด้วยความร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ทำให้มิตรผลวิจัยฯ สามารถพัฒนา “ชุดตรวจโรคใบขาว” ซึ่งง่ายต่อการตรวจวัดโรคใบขาวในท่อนพันธุ์อ้อย โรคดังกล่าวนี้จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ชาวไร่จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก การควบคุมโรคก็เป็นไปได้อย่างลำบากเนื่องจากการเกิดโรคนี้มีแมลงเป็นพาหะนำโรค และยังไม่มีท่อนพันธุ์ที่ต้านทานโรคได้ การระบาดของโรคจะลุกลามครอบคลุมพื้นที่เป็นวงกว้างและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล ด้วยเครื่องมือขนาดเล็กแต่มากด้วยความสามารถ ทำให้เกษตรกรสามารถตรวจหาโรคใบขาวในท่อนพันธุ์อ้อยได้ก่อนนำไปปลูกขยายพันธุ์ ซึ่งโรคใบขาวสามารถตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้นและช่วยให้เกษตรกรป้องกันการระบาดได้ทันท่วงที ในปี พ.ศ. 2551 มิตรผลวิจัยฯ ได้ขึ้นทะเบียน “ชุดตรวจโรคใบขาว” โดยจดลิขสิทธิ์ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ จากการส่งเสริมดังกล่าว มีเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยให้ความสนใจนำชุดตรวจโรคใบขาวไปใช้ประโยชน์ถึง 70,000 ชุด

นวัตกรรมทางการพยาบาล

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการพยาบาล
     ในปัจจุบันมีการแข่งขันด้านการให้บริการทางการพยาบาลของโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐแลเอกชน จึงได้มีการสร้างนวัตกรรมและมีการสร้างนวัตกรรมและมีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น นวัตกรรมยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยในการ ส่งเสริมให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการช่วยยกระดับของโรงพยาบาลให้ดีขึ้น อีกด้วย และต้องการลดค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพและยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพที่ เข้มแข็งและความคุมค่าคุ้มทุนซึ่งจากการศึกษาการเรียนรู้ในการทำงานของพยาบาล พบว่ามีการ สร้างความรู้หรือนวัตกรรมขึ้นเองในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้าง นวัตกรรมทางการพยาบาล
ประเภทของนวัตกรรม
นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้
 1.   นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา
 2.   นวัตกรรมด้านหลักสูตร
 3.   นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
 4.    นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี  นวัตกรรมด้านการประเมินผล
 5.   นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา
 6.   นวัตกรรมด้านการประเมินผล
ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล
 1.การเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี
     ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีส่วนเกี่ยวข้องในบทบาลพยาบาลมากขึ้น ซึ่งทำให้การพยาบาลเกิดความรวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะทางการแพทย์และการสาธารณสุขทำให้เกิดการพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการรักษาเพิ่มขึ้น ประชาชนต้องการการรักษาที่ดีมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบริการที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงดังนั้นพยาบาลต้องมีการพัฒนาการพยาบาลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาความรู้และปรับปรุงการปฏิบัติ การพยาบาลให้มีความทันสมัยเพิ่มขึ้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจในสังคม ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้นรายจ่ายทางสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับรายได้และเศรษฐกิจของผู้รับบริการที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้โรงพยาบาลต้องลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดูแลผู้รับบริการรวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อแข่งขันกับโรงพยาบาลอื่น การพัฒนานวัตกรรมทำให้เกิดขึ้นหรือพัฒนาจากที่มีอยู่เดิม ทำให้คุณภาพการดูแลผู้รับบริการได้รับการพัฒนา และยกระดับความสามารถในการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นนับถือของผู้รับบริการและสามารถลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานจากการพัฒนาอย่างคุ้มทุน
 2.ระบบการประกันคุณภาพและการแข่งขันระหว่างองค์กรสุขภาพจากการศึกษายุทธศาสตร์การบริการการพยาบาล พ.ศ.2550 มีเป้าหมายสำคัญให้องค์กรพยาบาลและเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ โดยหนึ่งในเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังกล่าว เน้นการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางการพยาบาลให้สามารถนำไปใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายองค์กรพยาบาลเพื่อให้องค์ความรู้นวัตกรรมทางการพยาบาลได้ถูกนำมาใช้อย่างยั่งยืนในด้านการแข่งขันทางองค์กรสุขภาพการสร้างและพัฒนาทางการพยาบาลรวมถึงนำมาให้ปฏิบัติทางคลินิกจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการเพื่อเพิ่มผลผลิต หรือบริการทางสุขภาพ เกิดรูปแบบการใช้งานที่ดีกว่าเดิมและมีหลากหลายมากขึ้นเพิ่มขีดความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างองค์กรทางสุขภาพ
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม  
   ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำเนินการทำโดยการบูรณาการความรู้ของระเบียบวิจัยทางคลินิกร่วมกับการดำเนินการวิจัยขณะปฏิบัติงานประจำหรือที่รู้จักกันว่า Routine to Research (R to R) มีข้อแนะนำดังนี้
 1. ประเมินความต้องการนวัตกรรม (need analysis) โดยประเมินสภาพปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อค้นหาความบกพร่อง ความไม่สมบรูณ์ของสิ่งที่มีอยู่ และก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ/ การบริหารงานการพยาบาล รวมทั้งปัจจัยอุปสรรคที่อาจมีผลขัดขวางการพัฒนาคุณภาพบริการจากการใช้นวัตกรรม
 2. กำหนดประเด็นหรือหัวข้อ ที่ต้องการพัฒนานวัตกรรม ให้มีความเฉพาะเจาะจง ไม่ศึกษาหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน โดยนวัตกรรมที่จะพัฒนาอาจเป็น กลวิธี เทคนิค โปรแกรม วัสดุ/อุปกรณ์ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม
 3. ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยตรวจสอบว่ามีกี่วิธีที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น การประเมินคุณภาพข้อมูลเชิงประจักษ์ทำโดย
  3.1 สืบค้นวรรณกรรมที่สนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม
  3.2 ประเมินระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงประจักษ์ (level of evidence) หากมีประเด็นที่ยังไม่มีการทำวิจัยหรือพบความขัดแย้งในผลงานวิจัยจึงใช้ความเห็นสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญการวิจัยหรือการเทียบเคียงผลของการปฏิบัติงานต่างหน่วยงาน
 4. สังเคราะห์ข้อความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่มีคุณภาพเมื่อนำมาบูรณาการวางแผนและการออกแบนวัตกรรม
 5. ออกแบบนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติพยาบาลหรือการบริหารจัดการให้ดีขึ้น
 6. กำหนดวิธีวัดประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งอาจมาจากตัวชี้วัดสุขภาพผู้ป่วยหรือตัวชี้วัดคุณภาพของหอผู้ป่วยและองค์กร วิธีวัดส่วนใหญ่เป็นการวัดผลโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
 7. กำหนดรายละเอียดของวิธีการใช้นวัตกรรมในคลินิกหรือในการทดลอง
 8.ดำเนินการศึกษานวัตกรรมในหน่วยงานหรือองค์กรเป้าหมาย ตามแผนที่วางไว้ในข้อ5 ข้อ6 และข้อ7
 9. ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วย
 10.บันทึกโดยสรุปผลพร้อมแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางคลินิกและการอภิปรายผลลัพธ์ของนวัตกรรม
ลักษณะของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
             - คิดหรือทำขึ้นใหม่
            - เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า
            - คัดแปลงปรับปรุงของเดิม
            - เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี
           - สถานการณ์เอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่
2.เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา
3.นำมาใช่หรือปฏิบัติได้ดี
4.มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน
เกณฑ์ในการพัฒนานวัตกรรม
   1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
   2. มีการนำระบบมาใช้พิจารณาองค์ประกอบของข้อมูล กระบวนการและผลลัพธ์
   3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรือระหว่างการวิจัย
   4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
ความคิดเห็นของผู้ทำรายงาน
ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลนั้นเป็นเพียงการแนะนำเบื้องต้นให้เห็นถึงกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติ  แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายมรรควิธี(หนทางฏิบัติ) ที่นำไปสู่การบริการพยาบาลที่มีคุณภาพในการปฏิบัติการพยาบาลให้เป็นไปในแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  และมีความน่าเชื่อถือได้ทางหลักวิทยาศาสตร์  ในการที่จะตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติและความต้องการการดูแลทางด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุนั้น   พยาบาลและบุคลากรทางการพยาบาลจะต้องมีทักษะความสามารถในการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์  การตีความและแปลความหมายงานวิจัยเพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล  รวมทั้งเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองที่มีต่องานวิจัย และการทำวิจัยว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน มาเป็นสิ่งท้าทายให้เกิดการรู้แจ้งทางปัญญา  เพื่อการสร้างเสริมพลังในการปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้ความรู้ของศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ (Science of Nursing)  สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics)  หรือศิลปะทางการพยาบาล (Art of Nursing) จริยศาสตร์ (Ethics)  และศาสตร์แห่งตน (Personal)  เพื่อการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ  ตลอดจนมีกาพัฒนา  ศักยภาพแห่งตนที่จะประเมินผลกระทบของการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัย เพื่อการนำสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ (Best Practice)  อันจะก่อให้เกิดการมีสุขภาวะแบบองค์รวมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนไทยต่อ
DSCN6437.JPGDSCN6447.jpg
แหล่งอ้างอิง http://gotoknow.org/blog/naphaphorn/378992

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ชุดการสอน

  ชุดการสอน คือ การนำเอาระบบสื่อประสม (Multi-media) ที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ของแต่ละหน่วย มาช่วยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ชุดการสอนนิยมจัดไว้ในกล่อง หรือซองเป็นหมวด ๆ ภายในชุดการสอนประกอบด้วยคู่มือการใช้ชุดการสอน สื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา และประสบการณ์ อาทิเช่น รูปภาพ สไลด์ เทป แผ่นคำบรรยาย ฯลฯ  ในการสร้างชุดการสอนนี้จะใช้วิธีระบบเป็นหลักสำคัญด้วย จึงทำให้มั่นใจได้ว่าชุดการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจพร้อมที่จะสอนอีกด้วย
          แนวคิดและหลักการของชุดการสอน          
          1. การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
          2. ความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอน จากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเอง เปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียน
          3. ยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่มมาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้
          ประเภทของชุดการเรียนการสอน          
         1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย หรือชุดการสอนสำหรับครู
               เป็นชุดการสอนสำหรับใช้สอนผู้เรียนเป็นกลุ่มใหญ่ ภายในกล่องจะประกอบด้วยสื่อการสอนที่ใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากยิ่งขึ้น โดยจะแบ่งเนื้อหาตามหัวข้อที่จะบรรยายและประกอบกิจกรรมตามลำดับขั้น ดังนั้น สื่อที่ใช้ควรเป็นสื่อที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หรือได้ยินกันอย่างทั่วถึง เช่น แผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ แผนภูมิ แผนภาพ โทรทัศน์ เอกสารประกอบการบรรยายและกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายตามปัญหาและหัวข้อที่ครูกำหนดไว้
          2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม หรือชุดการสอนที่ใช้กับศูนย์เรียน
               เป็นชุดการสอนแบบกิจกรรม ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยระบบการผลิตสื่อการสอนตามหน่วยและหัวเรื่อง โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมประกอบกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 5 - 7 คนในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน ชุดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มนี้ ประกอบด้วยชุดย่อย ๆ ตามจำนวนศูนย์ในแต่ละหน่วย ในแต่ละศูนย์จะจัดสื่อการสอนไว้ในรูปของสื่อประสม อาจเป็นสื่อรายบุคคล หรือสื่อสำหรับกลุ่มผู้เรียนทั้งศูนย์ใช้ร่วมกัน
          3. ชุดการสอนแบบรายบุคคลหรือชุดการสอนตามเอกัตภาพหรือชุดการเรียน
               เป็นชุดการสอนที่มีการจัดระบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองตามลำดับขั้นที่ระบุไว้ โดยผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองตามความสนใจและตามอัตราการเรียนรู้ของแต่ละคน ผู้เรียนสามารถประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง ชุดการสอนประเภทนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยตนเอง หรือผู้เรียนอาจนำชุดการสอนประเภทนี้ไปศึกษาเองที่บ้านได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม และฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
          องค์ประกอบของชุดการสอน          
          1. คู่มือและแบบปฏิบัติ สำหรับครูผู้ใช้ชุดการสอนและผู้เรียนที่ต้องเรียนจากชุดการสอน
          2. คำสั่งหรือการมอบหมายงาน เพื่อกำหนดแนวทางของการเรียนให้นักเรียน
          3. เนื้อหาสาระ ซึ่งบรรจุอยู่ในรูปของสื่อประสม และกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งกำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
          4. การประเมินผล เป็นการประเมินผลของกระบวนการ และผลของการเรียนรู้ โดยมีขั้นตอนการใช้ดังนี้
               1. ขั้นทดสอบก่อนเรียน ควรจะมีการตรวจสอบความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะ เรียนก่อน
               2. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ในขั้นนี้ผู้สอนควรนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อเป็นการเตรียมตัวผู้เรียนก่อนเรียน
               3. ขั้นประกอบกิจกรรม ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี แต่คำสั่งที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามนั้นควรมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
               4. ขั้นสรุปและทดสอบหลังเรียน เพื่อให้ทราบว่าหลังจากที่ผู้เรียนเรียนแล้วเกิดการเรียนรู้ในเรื่องหรือไม่ และ ยังทำให้ทราบความก้าวหน้าทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
          ประโยชน์ของชุดการสอน          
          1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล
          2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู
          3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน
          4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู
          5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน
          6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย
          7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
          8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
          9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น
          คุณค่าของชุดการสอน          
          1. ช่วยเร้าความสนใจ เนื่องจากผู้เรียนจะประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนสนใจต่อการเรียนตลอดเวลา
          2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี เนื่องจากนักเรียนสามารถเรียนได้ตามความสนใจ และตามอัตราการเรียนรู้ของตนเอง
          3. ส่งเสริมและฝึกหัดให้ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบตนเองและสังคม
          4. ช่วยให้การเรียนเป็นอิสระจากบุคลิกภาพของผู้สอน เนื่องจากผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทจากผู้บรรยายมาเป็นผู้แนะนำ ช่วยเหลือ และใช้ชุดการสอนทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ แทนครู
          5. แก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะชุดการสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และตามโอกาสที่เอื้ออำนวยให้แก่ผู้เรียนซึ่งมีความแตกต่างกัน
          6. สร้างความพร้อม และความมั่นใจให้แก่ครู เพราะในการผลิตชุดการสอนนั้นได้จัดระบบการใช้สื่อการสอน ทั้งการผลิตสื่อการสอน กิจกรรม ตลอดจนข้อแนะนำการใช้สำหรับผู้สอน สามารถนำไปใช้ได้ทันที
          7. ส่งเสริมการเรียนแบบต่อเนื่องหรือการศึกษาตลอดชีพ เพราะสามารถนำชุดการสอนไปศึกษาด้วยตนเองได้ทุกเวลา และทุกสถานที่
          8. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ เพราะชุดการสอนได้ผลิตขึ้นโดยใช้วิธีระบบและกลุ่มผู้มีความรู้ความสามารถ มีการทดลองใช้จนแน่ใจว่าใช้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้แล้วจึงนำออกใช้
          ขั้นตอนในการผลิตชุดการสอน          
          1. กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
          2. กำหนดหน่วยการสอน
          3. กำหนดหัวเรื่อง
          4. กำหนดความคิดรวบยอดและหลักการ
          5. กำหนดวัตถุประสงค์
          6. กำหนดกิจกรรมการเรียน
          7. กำหนดแบบประเมินผล
          8. เลือกและผลิตสื่อการสอน
          9. หาประสิทธิภาพชุดการสอน
        10. การใช้ชุดการสอน
          ส่วนประกอบและการเขียนคู่มือครู          
          1. คำนำ
          2. ส่วนประกอบของชุดการสอน
          3. คำชี้แจงสำหรับผู้สอน
          4. สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม
          5. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
          6. การจัดห้องเรียน
          7. แผนการสอน
          8. เนื้อหาสาระของชุดการสอน
          9. แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม
        10. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
          หลักในการเขียนแบบฝึกปฏิบัติหรือคู่มือนักเรียน           
          1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ
          2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง
          3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป
          4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส
          5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน
          6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา
 
แหล่งอ้างอิง  http://www.st.ac.th/av/inno_inspackage.htm

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แบบฝึกทักษะ

ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        ภาษาเป็นเรื่องทักษะ  ซึ่งจำแนกได้เป็น  2  ทาง  คือ  ทักษะการรับเข้า  ได้แก่  การอ่านและการฟัง  และทักษะการแสดงออก  ได้แก่  การพูดและเขียน  ทักษะทางภาษาจำเป็นต้องฝึกฝนอยู่เสมอ  แบบฝึกเสริมทักษะนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการเรียนภาษาได้มีผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญทางภาษา  ให้ความหมายของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
                        ชัยยงค์  พรหมวงศ์  (2535 : 16)  ให้ความหมาย  แบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง  สิ่งที่นักเรียนต้องใช้ควบคู่กับการเรียน  ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบฝึกที่ครอบคลุมกิจกรรมที่นักเรียนพึงกระทำ  อาจกำหนดแยกเป็นแต่ละหน่วย  หรืออาจรวมเล่มก็ได้
                        ลักษณา  อินทะจักร  (2538 : 161)  ให้ความหมาย  แบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง แบบฝึกที่ครูสร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
                        ศศิธร  ธัญลักษณานันท์  (2542 : 375)  ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง  แบบฝึกเสริมทักษะที่ใช้ฝึกความเข้าใจ  ฝึกทักษะต่าง ๆ และทดสอบความสามารถของนักเรียนตามบทเรียนที่ครูสอนว่า  นักเรียนเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด
                        กู๊ด  (Good  1973 : 224, อ้างถึงใน  ลักษณา  อินทะจักร  2538 : 160)  ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่า  หมายถึง  งานหรือการบ้านที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำ  เพื่อทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแล้ว  และเป็นการฝึกทักษะการใช้กฎใช้สูตรต่าง ๆ ที่เรียนไป
                        พจนานุกรม  เวบสเตอร์  (Webster  1981 : 64)  ให้ความหมายแบบฝึกเสริมทักษะว่าหมายถึง  โจทย์ปัญหา  หรือตัวอย่างที่ยกมาจากหนังสือ  เพื่อนำมาใช้สอนหรือให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ให้ดีขึ้น  หลังจากที่เรียนบทเรียนไปแล้ว
                        ดังนั้น  จึงอาจกล่าวได้ว่า  แบบฝึกเสริมทักษะ  หมายถึง  งานหรือกิจกรรมที่ครู               สร้างขึ้น  โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย  มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น  และช่วยฝึกทักษะต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  อาจจะให้นักเรียนทำแบบฝึกขณะเรียนหรือหลังจากจบบทเรียนไปแล้วก็ได้


                        ความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        ภายหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไปแล้ว  การเรียนการสอนนั้นย่อม          ไม่เกิดผลอย่างเต็มที่ถ้าไม่ได้รับการฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญและเข้าใจอย่างแท้จริงโดยเฉพาะวิชาภาษาไทย  เพราะภาษาไทยเป็นวิชาทักษะซึ่งเป็นวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ และการดำเนินชีวิตประจำวันตามที่หลักสูตรประถมศึกษา  พุทธศักราช 2521  (ฉบับปรับปรุง  พ.ศ. 2533)  ต้องการ  ดังนั้นในการสอนภาษาไทยจึงต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญคล่องแคล่ว  เพื่อช่วยให้เด็กเกิดพัฒนาการทางภาษาเพิ่มขึ้นตามวัยและความสามารถของตนที่จะทำได้  และเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะทางภาษาให้ได้ผลดีก็คือ  แบบฝึกเสริมทักษะ  ดังที่นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
                        กมล  ดิษฐกมล  (2526 : 18, อ้างถึงใน  ลักษณา  อินทะจักร  2538 : 163)  กล่าวว่า  แบบฝึกเสริมทักษะเป็นหัวใจของการสอนวิชาทักษะอยู่ที่การฝึก  การฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้นจะทำให้เกิดความชำนิชำนาญ  คล่องแคล่วว่องไวและทำได้โดยอัตโนมัติ
                        วีระ  ไทยพานิช  (2528 : 11)  ได้อธิบายว่า  แบบฝึกเสริมทักษะทำให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำจริง  เป็นประสบการณ์ตรงที่ผู้เรียนมีจุดประสงค์แน่นอน  ทำให้สามารถรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้ดี  จนนำไปใช้ในสถานการณ์เช่นเดียวกันได้
                        เพตตี้  (Petty  1963 : 269)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของแบบฝึกเสริมทักษะไว้อย่างชัดเจนว่าแบบฝึกเสริมทักษะเป็นส่วนเพิ่มเติมหรือเสริมหนังสือเรียนในการเรียนทักษะ                   เป็นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครูได้มาก  ช่วยส่งเสริมให้ทักษะทางภาษาคงทน  ช่วยในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  เพราะการให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะที่เหมาะสมกับความสามารถของตนเอง  จะทำให้ประสบผลสำเร็จทางด้านจิตใจมาก  ทั้งยังช่วยให้นักเรียนสามารถทบทวนสิ่งที่เรียนได้ด้วยตนเองและใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนได้อีกด้วย
                        ดังนั้น  แบบฝึกเสริมทักษะจึงเป็นเครื่องมือสำคัญ  ที่จะช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น  แบบฝึกเสริมทักษะจึงนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนวิชาที่ต้องการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ  มีความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนมากยิ่งขึ้น

                        ลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักในการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งมีผู้รู้ได้เสนอแนะไว้ดังนี้
                        นิตยา  ฤทธิ์โยธี  (2520 : 1)  ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะไว้ว่า          แบบฝึกเสริมทักษะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนมาแล้ว  เหมาะสมกับระดับ  วัย  หรือความสามารถของเด็ก  มีคำชี้แจงสั้น ๆ ที่ทำให้เด็กเข้าใจวิธีทำได้ง่าย  ใช้เวลาเหมาะสมหรือใช้เวลาไม่นาน  และเป็นสิ่งที่น่าสนใจและท้าทายให้แสดงความสามารถ
                        สามารถ  มีศรี  (2530 : 28)  กล่าวว่า  แบบฝึกเสริมทักษะที่ดีต้องเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียนมาแล้วเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน  มีคำสั่งและคำอธิบาย  มีคำแนะนำการใช้แบบฝึก                เสริมทักษะ  มีรูปแบบที่น่าสนใจและมีกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ
                        โรจนา  แสงรุ่งระวี  (2531 : 22)  กล่าวว่า  แบบฝึกเสริมทักษะที่ดีนอกจากมีคำอธิบายชัดเจนแล้วควรเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ใช้เวลาในการฝึกไม่นานเกินไปและมีหลายรูปแบบ
                        ฉะนั้น  จึงอาจกล่าวได้ว่า  แบบฝึกเสริมทักษะที่ดี  ครูผู้สร้างจะต้องยึดหลักจิตวิทยา  ใช้สำนวนภาษาที่ง่าย  เหมาะสมกับวัย  ความสามารถของผู้เรียน  มีกิจกรรมหลากหลาย  มีคำสั่ง  คำอธิบาย  และคำแนะนำการใช้แบบฝึกเสริมทักษะที่ชัดเจนเข้าใจง่าย  ใช้เวลาในการฝึกไม่นานและที่สำคัญมีความหมายต่อชีวิต  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

                        หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพต้องมีหลักการสร้างที่สอดคล้องกับลักษณะที่ดีของแบบฝึกเสริมทักษะด้วย  ซึ่งในเรื่องนี้ได้มีผู้เสนอแนะไว้ดังนี้
                        วรนาถ  พ่วงสุวรรณ  (2518 : 34 – 37)  ได้ให้หลักการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะไว้ดังนี้
1.       ตั้งจุดประสงค์
2.       ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหา
3.       ขั้นต่าง ๆ ในการสร้าง
3.1    ศึกษาปัญหาในการเรียนการสอน
3.2    ศึกษาหลักจิตวิทยาของเด็กและจิตวิทยาการเรียนการสอน
3.3    ศึกษาเนื้อหาวิชา
3.4    ศึกษาลักษณะของแบบฝึกเสริมทักษะ
3.5    วางโครงเรื่องและกำหนดรูปแบบให้สัมพันธ์กับโครงเรื่อง
3.6    เลือกเนื้อหาต่าง ๆ ที่เหมาะสมมาบรรจุในแบบฝึกเสริมทักษะให้ครบตามที่กำหนด
                        เกสร  รองเดช  (2522 : 36 – 37)  ได้เสนอแนะแนวทางในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะดังนี้
                        1.  สร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน  คือ  ไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป
                        2.  เรียงลำดับแบบฝึกเสริมทักษะจากง่ายไปหายาก  โดยเริ่มจากการฝึกออกเสียงเป็นพยางค์  คำ  วลี  ประโยค  และคำประพันธ์
                        3.  แบบฝึกเสริมทักษะบางแบบควรใช้ภาพประกอบ  เพื่อดึงดูดความสนใจของนักเรียน  ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการฝึก  และจะช่วยยั่วยุให้ติดตามต่อไปตามหลักของการจูงใจ
                        4.  แบบฝึกเสริมทักษะที่สร้างขึ้นเป็นแบบฝึกสั้น ๆ ง่าย ๆ ใช้เวลาในการฝึกประมาณ  30  ถึง  45  นาที
                        5.  เพื่อป้องกันความเบื่อหน่าย  แบบฝึกต้องมีลักษณะต่าง ๆ เช่น  ประสมคำจากภาพ  เล่นกับบัตรภาพ  เติมคำลงในช่องว่าง  อ่านคำประพันธ์  ฝึกร้องเพลง  และใช้เกมต่าง ๆ ประกอบ
                        บ็อค  (Bock  1993 : 3)  ได้ให้ข้อพิจารณาในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ  ดังนี้
                        1.  กำหนดจุดประสงค์ให้ชัดเจน  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบจุดมุ่งหมายของแบบฝึกเสริมทักษะ
                        2.  ให้รายละเอียดต่าง ๆ เช่น  คำแนะนำในการทำแบบฝึกเสริมทักษะหรือขั้นตอนในการทำอย่างละเอียด
                        3.  สร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีรูปแบบที่หลากหลาย  เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนมากที่สุด  เช่น  แบบฝึกเสริมทักษะอาจใช้รูปแบบง่าย ๆ โดยเริ่มจากการให้นักเรียน           ตอบคำถามในลักษณะถูกผิดจนถึงการให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
                        4.  แบบฝึกเสริมทักษะควรสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียน  เช่น  การให้นักเรียนเขียนเรียงลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลงในตารางหรือแผนภูมิที่กำหนดให้
                        จากแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า  การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะควรมีหลักใน          การสร้างดังนี้
                        1.  ต้องยึดหลักจิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละวัย  ต้องคำนึงถึงความสามารถ  ความสนใจ  แรงจูงใจของนักเรียน
                        2.  ต้องตั้งจุดประสงค์ในการฝึกว่าต้องการฝึกเสริมทักษะใด  เนื้อหาใด  ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไร
                        3.  แบบฝึกเสริมทักษะต้องไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป  คำนึงถึงความสามารถของเด็กและต้องเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก
                        4.  ต้องศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ  ปัญหาและข้อบกพร่องของนักเรียน
                        5.  แบบฝึกเสริมทักษะต้องมีคำชี้แจง  และควรมีตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจมากขึ้น  และสามารถทำได้ด้วยตนเอง
                        6.  แบบฝึกเสริมทักษะควรมีหลายรูปแบบ  หลายลักษณะ  เพื่อจูงใจในการทำ  ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกว่ามีจำนวนไม่มาก
                        7.  ควรมีรูปภาพประกอบที่สวยงามเหมาะสมกับวัยของเด็ก
                        8.  ควรใช้ภาษาสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาหรือคำสั่ง
                        9.  ควรมีการทดลองใช้เพื่อหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้จริง
                        10.  ควรจัดทำเป็นรูปเล่ม  ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้ง่าย  นักเรียนสามารถนำมาทบทวนก่อนสอบได้

                        หลักจิตวิทยาที่นำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ
                        การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะให้มีประสิทธิภาพ  สำหรับนำไปใช้กับนักเรียนนั้น  ต้องอาศัยหลักจิตวิทยาในการเรียนรู้  และทฤษฎีที่ถือว่าเป็นแนวความคิดพื้นฐานของการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะเข้าช่วย  เพื่อให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของนักเรียน
                        เดโช  สวนานนท์  (2521 : 159 – 163)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของ  ธอร์นไดค์  และสกินเนอร์  (Thorndike  and  Skinner)  ดังนี้ ธอร์นไดค์  ได้ตั้งกฎการเรียนรู้ขึ้น  3  กฎ  ซึ่งนำมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะ  ได้แก่
1.  กฎแห่งผล  (Law  of  Effect)  มีใจความว่าการเชื่อมโยงกันระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองจะดียิ่งขึ้นเมื่อผู้เรียนแน่ใจว่าพฤติกรรมตอบสนองของตนถูกต้อง  การให้รางวัลจะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้น ๆ อีก
2.  กฎแห่งการฝึกหัด  (Law  of  Exercise)  มีใจความว่า  การที่มีโอกาสได้กระทำซ้ำ ๆ ในพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งนั้น ๆ จะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  การฝึกหัดที่มีการควบคุมที่ดีจะส่งเสริมผลต่อการเรียนรู้
แหล่งอ้างอิง  http://learners.in.th/blog/pungkung007/148590