ก เอ๋ย ก.ไก่

สุขสันต์วันวาเลนไทน์

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

e-learning

    เศรษฐกิจพอเพียงคำว่า e-Learning   คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

     ประโยชน์ของe-Learning
     1.ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่

     2.เข้าถึงได้ง่าย
ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย

    3.ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว

   4.ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม

อ้างอิงจาก http://www.thaiedunet.com/ten_content/what_elearn.html
   ขั้นตอนการสร้างe-Learning
  1.Analysis:  ขั้นตอนการวิเคราะห์บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware)    เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design)  โดยขั้นตอนนี้    เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์ (Analysis) องค์ประกอบทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบ e-learning (อีเลิร์นนิ่ง) ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาบทเรียนออนไลน์ e-Learning (อีเลิร์นนิง) ผู้เรียน วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอน
ขั้นตอนการวิเคราะห์บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) แบ่งออกได้ดังนี้
            1.1การวิเคราะห์หลักสูตร
            1.2การวิเคราะห์เนื้อหา
            1.3การวิเคราะห์ผู้เรียน
            โดยขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาชุดวิชาต่างๆ โดยผู้ออกแบบ (Instructional Designer) 
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) จะต้องคำนึงถึงหลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์ online ลักษณะเนื้อหาวิชา วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย การเลือกสื่อที่นำมาใช้ในการนำเสนอ ความเหมาะสมของบทเรียนกับผู้เรียน รวมถึงบทเรียนต้องใช้งานง่าย
 
   2.Design : ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ขั้นตอนนี้เป็นผลมาจากการวิเคราะห์โดยออกมาในลักษณะของแบบร่างการเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) แบบร่างนี้เป็นเอกสารการออกแบบที่ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์การเรียนการสอน กลยุทธ์ในการเรียนการสอน เนื้อหาบทเรียน โดยใช้เอกสารนี้ในการสื่อสารกับทีมงานในการทำงานร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จ          
    2.1การออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ในส่วนของการออกแบบเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) นั้น มีลักษณะเป็น Learning Object โดยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ต้องได้รับการจำแนกเป็นหน่วยๆ เพื่อใช้ง่ายต่อการเรียนรู้และมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในหน่วยการเรียนนั้นๆ รวมถึงเนื้อหาต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน ครอบคลุมวัตถุประสงค์
    2.2การออกแบบโครงสร้างและลักษณะของ
บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) การออกแบบโครงสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานและความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนที่แตกต่างกัน การออกแบบหน้าจอบทเรียน ควรมีการออกแบบที่คำนึงถึงหลักของความสวยงามประกอบกับหลักการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมทั้งควรมีการเลือกสี รูปภาพ ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) และผู้เรียน การนำเสนอบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ต้องมีความทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์

    2.3การออกแบบบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ให้มีปฏิสัมพันธ์และการเชื่อมโยง การปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) เป็นสิ่งสำคัญจะส่งให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น ความสนใจที่จะเรียน e-Learning (อีเลิร์นนิง) การโต้ตอบกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) และการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ดีนั้น จะส่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
    2.4
การออกแบบรูปแบบการนำเสนอบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ให้มีความน่าสนใจ การออกแบบรูปแบบนำเสนอบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) เป็นส่วนที่จะกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความอยากรู้อยากเรียน
e-Learning (อีเลิร์นนิง) ลดความน่าเบื่อของการเรียนจากการเรียนที่มีความยาวนาน การนำเสนอที่น่าสนใจ ตื่นตาตื่นใจ เหมาะสมกับเนื้อหาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) จะช่วยให้ เกิดความคงทนของการจำเหตุการณ์หรือเนื้อหาได้  
   3.Development : ขั้นการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) เป็นขั้นตอนของการผลิตตามเอกสารการออกแบบเป็นการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน e-Learning (อีเลิร์นนิง) โดยเริ่มจากเขียน Storyboard ตามเอกสารการออกแบบที่ได้รับการตรวจสอบเนื้อหาที่ถูกต้องแล้ว การเขียน Storyboard เป็นการอธิบายหน้าจอของการเรียนการสอนในแต่ละหน้าว่าผู้เรียนจะเห็น ได้ยินหรือว่ามีปฎิสัมพันธ์อะไรกับบทเรียนออนไลน์ Online e-Learning (อีเลิร์นนิง) บ้าง Storyboard จะเป็นเครื่องมือในการทำงานของกราฟิก ทีมตัดต่อเสียง/ภาพ และโปรแกรมเมอร์ในการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) และบทเรียนออนไลน์ Online e-Learning (อีเลิร์นนิง) ที่เสร็จสมบูรณ์ต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและรูปแบบที่ต้องการสื่อความหมายจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเนื้อหาก่อนนำไปใช้        
   4.Implementation : ขั้นตอนการนำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ไปใช้ ขั้นตอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) ไปใช้ในการเรียนการสอน โดยนำบทเรียน e-Learning (อีเลิร์นนิง) ลงระบบ ทำการตรวจสอบการใช้งานของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) และระบบ พร้อมกับมีฝ่ายเทคนิคให้การช่วยเหลือผู้เรียนในการใช้งานบทเรียนออนไลน์ Online e-Learning (อีเลิร์นนิง) ไม่ว่าจะเป็นด้านโปรแกรมหรือว่าเครื่องมือการใช้งานบทเรียน e-Learning (อีเลิร์นนิง) 
   5.Evaluation : ขั้นการประเมินผลบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware) เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือประสิทธิภาพของบทเรียนออนยไลน์ Online e-Learning (อีเลิร์นนิง) ที่ผลิตขึ้นมา โดยอาจารย์ผู้สอนและคณะกรรมการเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Courseware
อ้างอิงจาก http://www.uplus-solution.com/content.php?ct_id=38

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น