ในปัจจุบันมีการแข่งขันด้านการให้บริการทางการพยาบาลของโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐแลเอกชน จึงได้มีการสร้างนวัตกรรมและมีการสร้างนวัตกรรมและมีการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น นวัตกรรมยังเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยในการ ส่งเสริมให้เกิดการบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการช่วยยกระดับของโรงพยาบาลให้ดีขึ้น อีกด้วย และต้องการลดค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพและยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบสุขภาพที่ เข้มแข็งและความคุมค่าคุ้มทุนซึ่งจากการศึกษาการเรียนรู้ในการทำงานของพยาบาล พบว่ามีการ สร้างความรู้หรือนวัตกรรมขึ้นเองในระดับปานกลาง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้าง นวัตกรรมทางการพยาบาล
ประเภทของนวัตกรรม
นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตร
3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี นวัตกรรมด้านการประเมินผล
5. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา
6. นวัตกรรมด้านการประเมินผล
ที่มาและวัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล
1.การเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีส่วนเกี่ยวข้องในบทบาลพยาบาลมากขึ้น ซึ่งทำให้การพยาบาลเกิดความรวดเร็วและสะดวกสบายมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะทางการแพทย์และการสาธารณสุขทำให้เกิดการพึ่งพาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการรักษาเพิ่มขึ้น ประชาชนต้องการการรักษาที่ดีมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการบริการที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงดังนั้นพยาบาลต้องมีการพัฒนาการพยาบาลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การพัฒนาความรู้และปรับปรุงการปฏิบัติ การพยาบาลให้มีความทันสมัยเพิ่มขึ้นการแข่งขันทางเศรษฐกิจในสังคม ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้นรายจ่ายทางสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้น สวนทางกับรายได้และเศรษฐกิจของผู้รับบริการที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้โรงพยาบาลต้องลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการดูแลผู้รับบริการรวมทั้งมีการพัฒนา เพื่อแข่งขันกับโรงพยาบาลอื่น การพัฒนานวัตกรรมทำให้เกิดขึ้นหรือพัฒนาจากที่มีอยู่เดิม ทำให้คุณภาพการดูแลผู้รับบริการได้รับการพัฒนา และยกระดับความสามารถในการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นนับถือของผู้รับบริการและสามารถลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงานจากการพัฒนาอย่างคุ้มทุน
2.ระบบการประกันคุณภาพและการแข่งขันระหว่างองค์กรสุขภาพจากการศึกษายุทธศาสตร์การบริการการพยาบาล พ.ศ.2550 มีเป้าหมายสำคัญให้องค์กรพยาบาลและเครือข่ายพัฒนาการพยาบาล ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศ โดยหนึ่งในเป้าหมายยุทธศาสตร์ดังกล่าว เน้นการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ และนวัตกรรมทางการพยาบาลให้สามารถนำไปใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพ รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในเครือข่ายองค์กรพยาบาลเพื่อให้องค์ความรู้นวัตกรรมทางการพยาบาลได้ถูกนำมาใช้อย่างยั่งยืนในด้านการแข่งขันทางองค์กรสุขภาพการสร้างและพัฒนาทางการพยาบาลรวมถึงนำมาให้ปฏิบัติทางคลินิกจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการเพื่อเพิ่มผลผลิต หรือบริการทางสุขภาพ เกิดรูปแบบการใช้งานที่ดีกว่าเดิมและมีหลากหลายมากขึ้นเพิ่มขีดความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันระหว่างองค์กรทางสุขภาพ
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรม
ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในการดำเนินการทำโดยการบูรณาการความรู้ของระเบียบวิจัยทางคลินิกร่วมกับการดำเนินการวิจัยขณะปฏิบัติงานประจำหรือที่รู้จักกันว่า Routine to Research (R to R) มีข้อแนะนำดังนี้
1. ประเมินความต้องการนวัตกรรม (need analysis) โดยประเมินสภาพปัญหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อค้นหาความบกพร่อง ความไม่สมบรูณ์ของสิ่งที่มีอยู่ และก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ/ การบริหารงานการพยาบาล รวมทั้งปัจจัยอุปสรรคที่อาจมีผลขัดขวางการพัฒนาคุณภาพบริการจากการใช้นวัตกรรม
2. กำหนดประเด็นหรือหัวข้อ ที่ต้องการพัฒนานวัตกรรม ให้มีความเฉพาะเจาะจง ไม่ศึกษาหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน โดยนวัตกรรมที่จะพัฒนาอาจเป็น กลวิธี เทคนิค โปรแกรม วัสดุ/อุปกรณ์ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม
3. ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบโดยตรวจสอบว่ามีกี่วิธีที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น การประเมินคุณภาพข้อมูลเชิงประจักษ์ทำโดย
3.1 สืบค้นวรรณกรรมที่สนับสนุนความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบนวัตกรรม
3.2 ประเมินระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงประจักษ์ (level of evidence) หากมีประเด็นที่ยังไม่มีการทำวิจัยหรือพบความขัดแย้งในผลงานวิจัยจึงใช้ความเห็นสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญการวิจัยหรือการเทียบเคียงผลของการปฏิบัติงานต่างหน่วยงาน
4. สังเคราะห์ข้อความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่มีคุณภาพเมื่อนำมาบูรณาการวางแผนและการออกแบนวัตกรรม
5. ออกแบบนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติพยาบาลหรือการบริหารจัดการให้ดีขึ้น
6. กำหนดวิธีวัดประสิทธิภาพของนวัตกรรมซึ่งอาจมาจากตัวชี้วัดสุขภาพผู้ป่วยหรือตัวชี้วัดคุณภาพของหอผู้ป่วยและองค์กร วิธีวัดส่วนใหญ่เป็นการวัดผลโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
7. กำหนดรายละเอียดของวิธีการใช้นวัตกรรมในคลินิกหรือในการทดลอง
8.ดำเนินการศึกษานวัตกรรมในหน่วยงานหรือองค์กรเป้าหมาย ตามแผนที่วางไว้ในข้อ5 ข้อ6 และข้อ7
9. ประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม ทั้งในด้านกระบวนการ รูปแบบและผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วย
10.บันทึกโดยสรุปผลพร้อมแหล่งอ้างอิงที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมทางคลินิกและการอภิปรายผลลัพธ์ของนวัตกรรม
ลักษณะของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
- คิดหรือทำขึ้นใหม่
- เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า
- คัดแปลงปรับปรุงของเดิม
- เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี
- สถานการณ์เอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่
2.เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา
3.นำมาใช่หรือปฏิบัติได้ดี
4.มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน
เกณฑ์ในการพัฒนานวัตกรรม
1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
2. มีการนำระบบมาใช้พิจารณาองค์ประกอบของข้อมูล กระบวนการและผลลัพธ์
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรือระหว่างการวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
ความคิดเห็นของผู้ทำรายงาน
ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลนั้นเป็นเพียงการแนะนำเบื้องต้นให้เห็นถึงกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายมรรควิธี(หนทางฏิบัติ) ที่นำไปสู่การบริการพยาบาลที่มีคุณภาพในการปฏิบัติการพยาบาลให้เป็นไปในแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีความน่าเชื่อถือได้ทางหลักวิทยาศาสตร์ ในการที่จะตอบสนองยุทธศาสตร์ของชาติและความต้องการการดูแลทางด้านสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มอายุนั้น พยาบาลและบุคลากรทางการพยาบาลจะต้องมีทักษะความสามารถในการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ การตีความและแปลความหมายงานวิจัยเพื่อนำมาใช้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล รวมทั้งเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองที่มีต่องานวิจัย และการทำวิจัยว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ซับซ้อน มาเป็นสิ่งท้าทายให้เกิดการรู้แจ้งทางปัญญา เพื่อการสร้างเสริมพลังในการปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้ความรู้ของศาสตร์ทั้ง 4 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ (Science of Nursing) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) หรือศิลปะทางการพยาบาล (Art of Nursing) จริยศาสตร์ (Ethics) และศาสตร์แห่งตน (Personal) เพื่อการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ตลอดจนมีกาพัฒนา ศักยภาพแห่งตนที่จะประเมินผลกระทบของการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัย เพื่อการนำสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ (Best Practice) อันจะก่อให้เกิดการมีสุขภาวะแบบองค์รวมและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนไทยต่อ
แหล่งอ้างอิง http://gotoknow.org/blog/naphaphorn/378992
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น