“วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ”
เทคโนโลยี
1. เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
ความหมายของเทคโนโลยี
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
*** พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์
*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
*** สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
*** ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
*** ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
***** พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
เราขอเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์
ความหมายของคำว่า วิทยาศาสตร์
Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์
คำจำกัดความของวิทยาศาสตร์ คืออะไร
Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์
วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สะสมมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบันและต่อไปถึง อนาคตอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เริ่มแต่ธรรมชาติรอบ ๆ ตัว จากองค์ประกอบที่เล็กที่สุดไปจนถึงใหญ่ที่สุดในเอกภพ ในแง่ที่ว่าสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติมีความเป็นมาอย่างไร สัมพันธ์กันหรือไม่อย่างไร ลำดับการพัฒนาเป็นอย่างไร มีระเบียบแบบแผนและหลัก เกณฑ์หรือไม่อย่างไร การเรียนวิทยาศาสตร์อาศัยรากฐานของการสังเกต การตั้งสมมติฐาน โดยใช้หลักปรัชญาและ ตรรก วิทยา พยายามสังเกตและวัดปริมาณเป็นตัวเลขออกมาเพื่อความแม่นยำ โดยอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์ ดังนั้นส่วนสำคัญของ การเรียนวิทยาศาสตร์ คือ การเรียนเกี่ยวกับเทคนิคในการสังเกต และการทดลอง ผนวกกับการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์
ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี
Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์
คำจำกัดความของเทคโนโลยี คืออะไร
ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าว
เมื่อมีวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแล้ว สิ่งที่จะขาดเสียมิได้คือการประดิษฐ์
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระบาทขอยกย่องและเทิดพระเกียรติแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลวงของเรา
ผู้เป็นบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย
Thanks: ฝากรูปฟรี รวมของฟรี ดิกชันนารีออนไลน์
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2549 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” แด่องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ปี 2549 เป็นปีที่ปวงชนชาวไทยได้แสดงออกอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศถวายความจง รักภักดีแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยพลังเสื้อสีเหลือง เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลกพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก็ยิ่งปรากฏชัดจากการน้อมเกล้าฯจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในงานสำคัญทาง ด้านวิทยาศาสตร์ตลอดทั้งปี ดังเช่นงาน “วันนักประดิษฐ์” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายนของทุกปีและงาน “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2549 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-22 สิงหาคม 2549
ในวาระมหามงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี วันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ โดย นายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย “รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) และนิตยสาร Time (Asia) ฉบับวันที่ 13 เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา (ฉบับครบรอบ 60 ปี ของนิตยสาร Time (Asia) ประกาศยกย่ององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น 1 ใน 60 วีรบุรุษแห่งเอเชีย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
แหล่งอ้างอิง http://theenergy.biz/forum/index.php?topic=7.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น